Thursday, 3 March 2011

My sister story Episode1 ชีวิตของฉัน ตอนที่1

อันนี้เป็นเรื่องราวชีวิตของน้องสาวค่ะ เอามาจากไดอารี่บล๊อกของน้องสาวเอง น้องสาวลี่ทำงานเป็นพยาบาลอยู่ประจำที่สถานีอนามัยประจำตำบล ที่บ้าน คือ จังหวัดกาฬสินธ์

my sister story, now my sister work in Sanitarium Thailand she is a nurse .


ฉันเกิดที่ขอนแก่น เติบโตที่กาฬสินธุ์ แล้วโบยบินไปเรียนที่นนทบุรี
ฉันมีตัวตนพร้อมลมหายใจครั้งแรกที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น จากนั้นไม่นานก็เดินทางมาที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มาอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งเพื่อเติบโต และจากนั้นไม่กี่ปีฉันก็ต้องเดินทางไปเป็นนักศึกษาที่จังหวัดนนทบุรี
ณ หมู่บ้านเล็กๆของฉัน มีมีหลากหลายวัฒนธรรมที่ฉันได้เรียนรู้ ฉันมีเพื่อนบ้านที่มาจากหลายจังหวัด เช่น สุรินทร์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา และที่ไกลกว่าใครเพื่อน คือเพื่อนบ้านที่ข้าแม่น้ำโขงมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อนบ้านของฉันรวมทั้งพ่อแม่ของฉันต่างก็มีเหตุผลที่ทำให้ต้องเดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอนมายังที่เมืองนี้ก็คือ “ที่เดิมแห้งแล้งกันดารเพาะปลูกไม่ได้” และได้ยินคำเล่าขานว่าที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ ดังคำพังเผยที่ว่า
“กาฬสินธุ์นี้ดินดำน้ำซุ่ม   ปลากุ่มบ้อนคือแข้แกว่งหาง ปลานางบ้อนคือขางฟ้าลั่น       จั๊กจั่นฮ้องคือฟ้าล่วงบน”  นี้เป็นคำพังเผยที่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ ของเมืองกาฬสินธุ์ จากปากต่อปาก จึงทำให้คนที่มาจากดินแดนที่แห้งแล้ง ไร้ซึ่งความหวังในบ้านเกิดของตนได้อพยพกันมาที่หมู่บ้านแห่งนี้
        ครอบครัวของฉันก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องการความเป็นอยู่ที่ดีกว่า เมื่อแหล่งทำกินเดิมที่ขอนแก่นน้ำท่วมบ่อยครั้ง ทำนาไม่ได้ เมื่อสามสิบปีที่แล้วตากับยายจึงเดินทางมาที่หมู่บ้านแห่งนี้ โดยที่ยังไม่รู้ว่าบ้านใหม่จะเป็นอย่างไร จะอุดมสมบูรณ์จริงดังคำร่ำลือหรือไม่ แต่สิ่งที่ตากับยายรู้ก็คือ เรายังมีความหวัง เราหวังว่าจะต้องเจอสิ่งที่ดีกว่า (จบตอนที่๑)
( ปลากุ่มและปลานางในคำพังเพยนี้ ได้แก่ปลาน้ำจืดสองชนิด ปัจจุบันยังพบอยู่ในลำน้ำดอกไม้และเขื่อนลำปาว

       ปลากุ่ม เป็นปลาสร้อยเกล็ดถี่ เกล็ดเล็กบางและมีสีน้ำเงินเป็นประกายเมื่อต้องแสงแดด มักอยู่รวมกันเป็นฝูง เวลาโผล่มาฮุบอากาศหรือเหยื่อจะมีเสียงดังเหมือนจระเข้ฟาดหาง 
       ส่วนปลานาง หรือปลาแดง เป็นปลาในตระกูลปลาเนื้ออ่อน ไม่มีเกล็ด ลำตัวแบนเรียวยาว ต้นหางโค้งงอเล็กน้อย ตอนหัวกว้าง มีหนวด 4 เส้น ยาวประมาณ 60 เซนติเมตรในอดีตมีอยู่ชุกชมและตัวโตเวลาที่มันโผล่หัวมาฮุบอากาศบนผิวน้ำพร้อมกันจะเสียงดังเหมือนฟ้าผ่า

ส่วนนี้คือตัวจั๊กจั๊น เกาะอยู่ตามต้นไม้ ก็เอาไม้ที่มียางขนุขไปตบที่ั่ตัว จั๊กจั๊นก็จะติดมา เราก็นำมาประกอบอาหาร ได้มาสัก สี่ ห้าตัว มาก้อยใส่กับมะม่วงป่า บางคนก็เอามาคั่วใส่เกลือกินกับข้าว เป็นอาหารคนยาก
       จั๊กจั๊น เป็นแมลงชนิดหนึ่ง มักจะอยู่ในป่า แล้วพอถึงฤดูผสมพันธุ์เราจะได้ยินเสียงของจั๊กจั๊นดังก้องป่า เวลาจะจับ เราเรียกว่าไป ตบจั๊กจั๊น จะใช้ไม่ไผ่หรือไม้อะไรก็ได้ที่มีลักษณะเรียวๆยาวๆ เอาไปแตะกับยางขนุนที่เหนียวๆ แล้วเอาไปตีที่ตัวจั๊กจั๊น ตัวจั๊กจั๊นก็จะติดที่ปลายไม้มา เราก็เอามาใส่ไว้ในข้อง (ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ มีฝาปิด)   
       ทั้งปลากุ่มและปลานาง ที่เคยมีอยู่ชุกชุมตามลำน้ำทั่วไปของกาฬสินธุ์ ชาวบ้านได้จับมาปรุงเป็นอาหารหลากชนิด แม้จะมีปริมาณไม่มากเท่าแต่ก่อน แต่ในความทรงจำของชาวเมือง ปลา) กุ่มและปลานาง คือสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหารของเมืองกาฬสินธุ์มาแต่โบราณ ส่วนจั๊กจั๊นนั้นในอดีตมีอยู่มากในป่าที่อยู่ใกล้หมู่บ้าน  เมื่อมันร้องพร้อมๆกัน(ที่จริงเป็นเสียงที่เกิดจากการกระพือปีกแบบเร็วๆจนเกิดเสียง)เสียงจึงดังมากเหมือนเสียงฟ้าร้อง )

ปลานาง

No comments:

Post a Comment